จิตวิทยาและความเชื่อจิตวิญญาณยอดนิยม (โลกตะวันตก) ของ ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

บุคคลหลักที่ทำให้นิยม

ในปี 2504 นักปรัชญาและศาสตราจารย์ แอลัน วัตส์ ได้เขียนไว้ว่า

ถ้าเราพินิจพิจารณาอย่างละเอียดถึงการใช้ชีวิตแบบพุทธศาสนา ลัทธิเต๋า ลัทธิเวทานตะ และโยคะ เราจะไม่พบทั้งปรัชญาหรือศาสนาดังที่เข้าใจในโลกตะวันตกเราจะพบอะไรเกือบเหมือนกับวิธีการจิตบำบัดความคล้ายคลึงหลักระหว่างวิถีชีวิตโลกตะวันออกเช่นนี้กับจิตบำบัดโลกตะวันตก ก็คือ จุดมุ่งหมายของทั้งสองก็เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิต เปลี่ยนแปลงความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิตของเราเอง และความสัมพันธ์ของเรากับสังคมมนุษย์และโลกธรรมชาตินักจิตบำบัดส่วนมากให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนจิตใจของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตประสาทแต่ว่าการฝึกฝนของพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า เป็นการเปลี่ยนจิตใจของบุคคลปกติที่ปรับตัวเข้าสังคมได้[50]:3-4

ตั้งแต่สังเกตการณ์และการใคร่ครวญเช่นนี้ของ ดร. วัตส์ ก็ได้มีคนช่วยสร้างความนิยมเพื่อรวมการอบรมจิตทางพุทธศาสนาเข้ากับจิตวิทยารวมทั้งJack Kornfield (1993)[51],Joseph Goldstein,ดร. Tara Brach,ศ. นพ. มาร์ก เอ็ปสไตน์ (1995)[52]และพระภิกษุชาวเวียดนามทิก เญิ้ต หั่ญ (1998)[53]

คำเตือนเกี่ยวกับพุทธศาสนาแบบโรแมนติก

จิตวิทยาแบบโรแมนติก
/มนุษยนิยม
พุทธศาสนาต้น ๆ
ปัญหาทางจิต ตนที่ถูกแบ่ง การยึดมั่นถือมั่น
เป้าสูงสุด ความรู้สึกเป็นหนึ่ง การแทงตลอด
พระนิพพาน
การแก้ปัญหา การรวมตัวอย่างต่อเนื่อง พระนิพพาน

พระภิกษุสายป่าไทยชาวอเมริกัน อ. ฐานิสฺสโร (Geoffrey DeGraff)[54]กำหนดความคล้ายคลึงกันอย่างกว้าง ๆ ระหว่าง "จิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยม" กับศาสนาพุทธยุคต้น ๆ ว่าเป็นความเชื่อในการกระทำ/การแทรกแซงของมนุษย์ (เทียบกับของพระเจ้า) โดยวิธีที่อาศัยประสบการณ์ ปฏิบัติได้ และช่วยรักษาบำบัดได้ท่านแสดงรากฐานของอุดมคติทางจิตวิญญาณของชาวตะวันตกปัจจุบันไปยังนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยโรแมนติกอิมมานูเอล คานต์ ต่อจากนั้นนักจิตวิทยาและนักปรัชญาชาวอเมริกัน นพ. วิลเลียม เจมส์ จิตแพทย์คาร์ล ยุง แล้วตามด้วยนักจิตวิทยามนุษยนิยม ศ. ดร. อับราฮัม มาสโลว์

ท่านยืนยันว่า มีความต่างหลัก ๆ ระหว่างจิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยมกับพุทธศาสนาซึ่งสรุปความอยู่ในตารางและชี้อ้อม ๆ ผู้ที่ยัดเยียดเป้าหมายของจิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยมในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าเป็น "คนโรแมนติกพุทธ" (จินตนิยมพุทธ)มีนักเขียนเสนอแนวคิดพุทธปัจจุบันที่กล่าวในลักษณะเดียวกัน[55]

โดยเข้าใจถึงปัญหาความเหินห่างทางสังคมในชีวิตปัจจุบัน อ. ฐานิสฺสโรเขียนว่า

เมื่อจินตนิยมพุทธพูดถึงปัญหาเหล่านั้น นั่นก็จะเปิดประตูประเด็นต่าง ๆ ทางธรรมะที่สามารถช่วยคนให้ได้การปลอบประโลมใจที่กำลังแสวงหาและการทำเยี่ยงนั้นเป็นการเพิ่มพูนผลงานที่ทำโดยจิตบำบัด [...] แต่ว่า จินตนิยมพุทธก็ยังเป็นการปิดประตูประเด็นต่าง ๆ ทางธรรมะที่ค้านความหวังของบุคคลผู้ปรารถนาความสุขสุดยอดแบบอาศัยการเชื่อมต่อกัน (interconnectedness)(เพราะว่า) ธรรมะแบบดั้งเดิมเรียกร้องให้มีเนกขัมมะและจาคะ โดยตั้งอยู่ในความจริงว่า อะไรที่เชื่อมต่อกันย่อมไม่เที่ยง และความสุขอะไร ๆ ที่อิงความไม่เที่ยงนี้เป็นการเชื้อเชิญหาความทุกข์ความสุขที่แท้จริงจะต้องยิ่งไปกว่าการพึ่งพาอาศัยกันและกันและความเชื่อมต่อกัน คือต้องก้าวไปถึงสิ่งที่ไม่มีปัจจัย (พระนิพพาน) [...](และ) ประตูทางจินตนิยมพุทธก็จะปิดเรื่องที่เป็นรากฐานธรรมะที่ออกแบบเพื่อแก้ความทุกข์ระดับต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่แม้บุคคลจะได้เชี่ยวชาญการได้ความเป็นเอกภาพแล้ว"[54]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา http://www.newcollege.utoronto.ca/academics/new-co... http://www.ahalmaas.com/PDF/culture_narcissism.pdf http://www.bhantekovida.com/inquiring/bhante-kovid... http://danbhai.com/rnpsa/winnicott_ego_distortion.... http://www.emotionalcompetency.com/papers/empathyd... http://gradworks.umi.com/31/87/3187903.html http://www.academia.edu/663726/Oliver_Kress_-_A_ne... http://www.naropa.edu/academics/gsp/grad/contempla... http://www.buddhanet.net/compassion.htm http://www.buddhanet.net/depth.htm